l o m b o g
ลมบกพัดออกทะเล

ข้างหน้าที่ทิ้งไว้ คือรอยเท้าที่พ่อเดิน December 6, 2010

ในยุคก่อนนี้
กิจกรรมเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ที่เผยแพร่ทางโทรทัศน์ ยังนิยมเทิดพระเกียรติด้วยการกล่าวอาเศียรวาท รำถวายพระพร หรือการถ่ายทำสารคดีพระราชประวัติและโครงการพระราชดำริ ซึ่งเป็นการสื่อสารตรงไปตรงมา เพื่อเน้นย้ำกับผู้ชมถึงความซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน

จนกระทั่ง พ.ศ.2542 ประภาส ชลศรานนท์ ได้เสนอโครงการละครเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ ต่อสถานีโทรทัศน์ช่อง 5 โดยรวบรวมพระราชดำรัสและโครงการในพระราชดำริ มาประมวลขึ้นเป็นละครโทรทัศน์ 6 เรื่อง และคัดสรร 6 นักแสดงยอดฝีมือ ณ เวลานั้น มารับบทสำคัญในละคร ประกอบด้วย

เพลงของพ่อ นำแสดงโดย นพพล โกมารชุน
http://www.youtube.com/watch?v=jv9AcW7PcCE

ชีวิตที่พอเพียง นำแสดงโดย ศรัณยู วงศ์กระจ่าง
http://www.youtube.com/watch?v=gBR3-M3DqUY

วัคซีน นำแสดงโดย สรพงศ์ ชาตรี
http://www.youtube.com/watch?v=wFeUHgu_vuI

ถั่วแดงหลวง นำแสดงโดย ศักดิ์สิทธิ์ แท่งทอง
http://www.youtube.com/watch?v=quU4kLefmIA

เทียนขี้ผึ้ง นำแสดงโดย พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง
http://www.youtube.com/watch?v=RYV-P62mYpc

ความฝันอันสูงสุด นำแสดงโดย วิลลี่ แมคอินทอช
http://www.youtube.com/watch?v=kJ31iK-2VmY

ฉากของแต่ละเรื่องถูกกระจายไปทุกภูมิภาคของประเทศ
ตัวละครหลักถูกกระจายบทบาท เพื่อนำเสนอเป็นตัวแทนของคนกลุ่มต่างๆในสังคม ไม่ว่าจะเป็น แพทย์ นักธุรกิจ ข้าราชการทหาร ศิลปิน ชนชั้นแรงงาน ชนกลุ่มน้อย

นับเป็นการนำศิลปะการละครเต็มรูปแบบมาใช้เพื่อสื่อสาร-เล่าเรื่อง ที่ทั้งสนุก ลึกซึ้ง คมคาย ชวนติดตาม
และละครชุด’พ่อ’นี้ ก็อาจนับได้ว่าเป็นกิจกรรมชิ้นแรกๆ ที่แสดงการเทิดพระเกียรติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในเชิงปรัชญา

อะไรคือ ‘เทิดพระเกียรติฯในเชิงปรัชญา’

คำว่า’ปรัชญา’ นั้นมีความหมายว่า หลักแห่งความรู้และความจริง

การเทิดพระเกียรติในเชิงปรัชญา นั้นหมายถึงการเทิดพระเกียรติในหลักการคำสอน วิถีการดำเนินชีวิตที่พระองค์ทรงปฏิบัติ หาใช่ที่ตัวบุคคลหรือวัตถุสิ่งของใดๆ

หลักปรัชญา ที่ล้วนเป็นความรู้ที่มีประโยชน์
หลักปรัชญา ที่เป็นความจริง ซึ่งพิสูจน์ได้

หากว่า ‘พระธรรม’ ในพระพุทธศาสนา ไม่ได้มีไว้เพื่อกราบไหว้ แต่จะเข้าใจและประสบผลก็เมื่อได้นำมาใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน
หากว่า ‘พระธรรม’ นั้นเป็นเรื่องที่ง่ายต่อความเข้าใจและนำไปปฏิบัติ ผู้ที่จะสื่อสารเรื่องพระธรรมก็ต้องมีวิธีสื่อสารที่ให้ผู้คนทั่วไปเข้าถึงได้ง่าย

สิ่งที่ละครชุด’พ่อ’ สื่อสารกับผู้ชมก็เป็นไปในทำนองเดียวกันนี้

ประภาสใช้คำว่า ‘เดิน’ เป็นแกนหลักของละครทั้งหกเรื่อง

ตัวละครหลักของแต่ละเรื่องจะประสบวิกฤติในชีวิต จนดูเหมือนจะเดินต่อไม่ได้ และได้นำแนวคิด หรือวิธีการที่พระองค์พระราชทานไว้ในวาระต่างๆ มาใช้กู้วิกฤติชีวิตของตนเอง

แน่นอนว่าไมใช่ด้วยการท่องจำหรือกราบไหว้ แต่เป็นการศึกษาให้กระจ่างแล้วลงมือปฎิบัติอย่างจริงจัง

####################

พ่อ – ปั่น ไพบูลย์เกียรติ เขียวแก้ว

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

####################
การเทิดพระเกียรติในเชิงปรัชญายังสื่อสารออกมาชัดเจนในเพลงนำของละครชุดนี้

บทเพลง ‘พ่อ’ ที่ขับร้องโดย ปั่น ไพบูลย์เกียรติ เขียวแก้ว ซึ่งประภาสเป็นผู้แต่งคำร้องเอง โดยจับแก่นของละครที่คำว่า ‘พ่อ’ และ’การเดิน’
มาสู่การ ‘เดินตามรอยพ่อ’ และขัดเกลาจนกลายเป็นภาพของเด็กน้อยวัยหัดเดินที่สวมรองเท้าคู่โต ซึ่งเป็นภาพชีวิตที่คุ้นชินของทุกคน

เป็นการเล่าควบรวมทั้งในส่วน ‘พ่อของแผ่นดิน’และ’พ่อ’ในชีวิตจริง

นั่นคือชั้นเชิงด้านศิลปะการสื่อสาร ในการดึงเอาเรื่องที่ครั้งหนึ่งเคยถูกเชิดชูสูงส่งจนเป็นเรื่องไกลตัว ให้กลับมาใกล้จนรู้สึกและสัมผัสได้

“มันเดินไม่ง่ายนะ ชีวิตคนเรา ถึงตอนนั้นล่ะเราก็จะคิดถึงพ่อ ระดับประเทศชาติเรายังเป็นเลย พอเราเริ่มรู้สึกว่าประเทศมันเดินต่อไปไม่ได้แล้ว เราจะคิดถึงพ่อของแผ่นดิน”
ประภาสกล่าวถึงบทเพลงนี้ไว้ในหนังสือ ‘เพลงเขียนคน ดนตรีเขียนโลก ฉบับเปลี่ยนฉาก’

5 ธันวาคม พ.ศ.2553
ผมหยิบเพลงนี้มาเปิดฟัง ท่ามกลางบรรยากาศการเฉลิมฉลองที่ยิ่งใหญ่ และดูเหมือนจะยิ่งใหญ่ขึ้นทุกปี
วูบความคิดเกิดขึ้นขณะยืนมองพลุสีสวยสว่างวาบ เต็มท้องฟ้า

รองเท้าของพ่อ นั้นมีเรื่องราวมากมายให้ลูกได้ศึกษา ไม่ใช่มีไว้กราบไหว้บูชา
รอยเท้าที่พ่อเคยย่ำผ่าน นั้นก็เป็นการเปิดทางเพื่อให้ลูกได้เดินตามและสานต่อ ไม่ใช่เอาแต่นั่งชื่นชม

สิ่งที่พ่อต้องการที่สุด คงไม่ใช่การเฉลิมฉลองที่ยิ่งใหญ่กว่าใคร หากแต่เป็นความมั่นใจว่าลูกได้เติบใหญ่และแข็งแรงพอที่จะเดินด้วยตัวเองได้อย่างมั่นคง

ใช่ หรือไม่ใช่นะ

ลมบก
6 ธ.ค.53


No Comments on ข้างหน้าที่ทิ้งไว้ คือรอยเท้าที่พ่อเดิน

KING::ภาพยนตร์เฉลิมพระเกียรติ November 27, 2010

01.เรื่องเดียวกัน #โดย 6 ผู้กำกับ แฟนฉัน

02.ราชประชานุเคราะห์ #โดย Dr.Head และ เหมันต์ เชตมี

03.เหรียญของพ่อ #โดย นนทรีย์ นิมิบุตร

04.อาม่า #โดย พิง ลำพระเพลิง

05.จากฟ้าสู่ดิน #โดย พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง

06.คนล่าเมฆ #โดย ปรัชญา ปิ่นแก้ว

07.แผ่นดินของเรา #โดย ยุทธนา มุกดาสนิท

#########

ในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 83 พรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2553  กระทรวงมหาดไทยร่วมกับกระทรวงกลาโหมและกระทรวงคมนาคม ผนึกกำลังจัดกิจกรรมฉายภาพยนตร์เฉลิมพระเกียรติ 7 เรื่อง ผ่านจอม่านน้ำขนาด 30 เมตร ฝั่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ รวมถึงโรงภาพยนตร์ในเครือ SFX และเมเจอร์ทุกโรงในกทม.และปริมณฑล ก็จะมีการฉายภาพยนตร์ทั้ง 7 เรื่องให้ประชาชนได้เข้าชมฟรี ส่วนในต่างจังหวัดที่ศาลากลางทั้ง 75 จังหวัด ก็จะมีการฉายภาพยนตร์เฉลิมพระเกียรติทั้ง 7 เรื่องได้ประชาชนได้ชมในช่วงค่ำของวันที่ 5 ธ.ค.เช่นกัน

ภาพยนตร์แต่ละเรื่องกำกับโดยคณะผู้กำกับภาพยนตร์ชื่อดังของประเทศไทย มีความยาวประมาณ 28-30 นาที ภาพยนตร์ทั้ง 7 เรื่องจะนำขึ้นทูลเกล้าฯเพื่อถวายลิขสิทธิ์ จากนั้นจะขอพระบรมราชานุญาตผลิตเป็นวีซีดี 5 ล้านชุด เพื่อนำไปเผยแพร่ให้ประชาชนได้รับชมอย่างทั่วถึงและเป็นสิริมงคลแก่คนไทยทั้งประเทศ

No Comments on KING::ภาพยนตร์เฉลิมพระเกียรติ

เมืองใต้เท้า October 9, 2010

เมืองใต้เท้า [Mission Under Ground ] / ชัยกร หาญไฟฟ้า

แพรวสำนักพิมพ์ / 302 หน้า / ราคา 197

#########

“ไม่มีใครรับประกันได้ว่า รถไฟใต้ดินจะไม่ตกรางอีก
แล้วก็ไม่มีใครรู้ด้วยว่า สาเหตุที่แท้จริงนั้นเกิดจากอะไร
อีกทั้งไม่รู้ด้วยว่าข้างล่างลึกลงไปนั้นยังมีอะไรซ่อนอยู่
เกิดอะไรขึ้นในเมืองใต้เท้า ?”

นวนิยายเรื่อง”ใต้เท้า”เป็นหนึ่งในต้นฉบับนวนิยายที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายรางวัลนายอินทร์อะวอร์ดเมื่อปี พ.ศ.2549 และเมื่อผลประกาศออกมาว่า “ใต้เท้า”ไม่สามารถคว้ารางวัลสูงสุดของงานประกวดครั้งนี้ได้ ผู้เขียนจึงเก็บต้นฉบับไว้ในความอึมครึมพักใหญ่

เมื่อได้ปล่อยให้เวลาผ่านเพื่อเรียนรู้ประสบการณ์เพิ่มขึ้น ผู้เขียนจึงได้หยิบต้นฉบับนี้มาปัดฝุ่นอีกครั้ง จากที่เคยตั้งใจเพียงปรับแก้จากร่างเดิมให้สมบูรณ์ขึ้นกลายเป็นการรื้อโครงเรื่องใหม่ยกกระบิ ดังที่ผู้เขียนได้กล่าวไว้ในคำนำว่า เป็นการถอยหลังเพื่อก้าวเดินไปข้างหน้าให้มากกว่าเดิม จากต้นฉบับ “ใต้เท้า” จึงกลายเป็น “เมืองใต้เท้า”เมื่อจัดพิมพ์เสร็จสมบูรณ์โดยแพรวสำนักพิมพ์ในเดือนมีนาคม พ.ศ.2552 รวมระยะเวลาในการปรับแก้ต้นฉบับเกือบ 3 ปี

หากจำแนกหมวดหมู่ “เมืองใต้เท้า” คงอยู่ในข่ายนวนิยายไซไฟระดับบางๆ แกล้มด้วยประเด็นสังคมและการเมือง ที่ผู้เขียนหยิบเอาเกร็ดจากเหตุการณ์ปัจจุบันมาปรับแต่งให้เข้ากับเนื้อหาพร้อมสอดแทรกทัศนคติต่อประเด็นนั้นๆ ได้อย่างแนบเนียนและไหลรื่น

เรื่องราวเริ่มต้นที่อุบัติเหตุรถไฟฟ้าใต้ดินตกราง ระหว่างสถานีพระรามเก้ากับสถานีศูนย์วัฒนธรรมฯ และเดินเรื่องด้วยการสืบหาสาเหตุ ผ่านตัวละครหลักซึ่งมีอาชีพเป็นวิศวกรดูแลระบบความปลอดภัยของรถไฟฟ้าใต้ดิน การขมวดปมของเรื่องที่ชวนติดตาม ปล่อยให้ตัวละครค่อยๆ ค้นหาเงื่อนงำที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่ ระบบวิศวกรรมยานยนต์ วิศวกรรมโครงสร้าง ระบบผังเมือง ระบบฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ ขยายกรอบโยงใยออกไปไกลถึงสิ่งที่ไม่น่าจะเกี่ยวเช่น ดาราศาสตร์ การเมือง กฎหมาย สื่อสาธารณะ  เมื่อเชื่อมโยงความสัมพันธ์ได้แล้วจึงค่อยๆลดกรอบลงเพื่อคลี่ปม ทีละเปลาะ ทีละเปลาะ

ด้วยความที่อาชีพหลักอีกด้านหนึ่งของผู้เขียนคือวิศวกร จึงไม่แปลกใจที่จะพบศัพท์เทคนิคด้านวิศวกรรมแทรกอยู่ตลอดทั้งเรื่อง  ซึ่งก็ไม่ได้ยากหรือสร้างความสับสนให้กับผู้อ่าน แต่กลับเป็นการวาดภาพของเหตุการณ์ให้ชัดเจน และยังเพิ่มความน่าเชื่อถือรองรับเนื้อหาส่วนของจินตนาการที่เขาสร้างขึ้นมา

ชัยกร หาญไฟฟ้า ใช้เวลาแปดโมงเช้าถึงหกโมงเย็นประกอบอาชีพเป็นวิศวกรบริษัทเอกชนที่ผ่านการดูแลโครงการขนาดใหญ่อย่าง สนามบินดอนเมือง สนามบินสุวรรณภูมิ รวมไปถึงโครงการรถไฟฟ้าใต้ดินซึ่งถูกใช้เป็นฉากของนวนิยายเรื่องนี้  เขาใช้เวลาส่วนที่เหลือสร้างงานเขียนออกมาอย่างสม่ำเสมอนับสิบเล่ม ทั้งเรื่องสั้น  นวนิยาย และที่เป็นที่รู้จักกว้างขวางที่สุดก็คือวรรณกรรมเยาวชน ที่คว้ารางวัลงานประกวดต่างๆอยู่เป็นเนืองๆ

บทสัมภาษณ์ ชัยกร หาญไฟฟ้า :: http://www.praphansarn.com/new/c_talk/detail.asp?ID=195

No Comments on เมืองใต้เท้า

เรื่องตลก September 25, 2010

credit :: จาก fw.mail

No Comments on เรื่องตลก

เหตุผลของการมีชีวิตอยู่ August 15, 2010

เหตุผลของการมีชีวิตอยู่

เหตุผลของการมีชีวิตอยู่ ; วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์

เรื่องที่ควรรู้ ที่เราคิดว่ารู้ แต่เราไม่เคยรู้

พิมพ์ครั้งที่ 1 / Abook / 304 หน้า / 195บาท

#############

หนังสือรวมบทความที่เคยลงตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์มติชนและกรุงเทพธุรกิจ โดยบรรณาธิการนิตรสารสารคดี

จากปกหลัง ::

‘วันชัยจะคอยจับชีพจรสังคม ว่าคนกำลังอยากรู้เรื่องอะไร หรือพร้อมจะรับรู้เรื่องอะไร

เรื่องที่เขาเขียนจึงสัมพันธ์กับคนอ่าน หรือดึงเอาประสบการณ์ร่วมของผู้อ่านมาเชื่อมโยงกับประเด็นที่นำเสนอ

ถ้าเป็นเรื่องที่คนอ่านมีความรู้มาก่อน อ่านแล้วจะรู้สึกว่าเขาพูดแทนใจตัว

ถ้าเป็นเรื่องที่ไม่รู้มาก่อน อ่านแล้วจะรู้สึกว่ามันเป็นเรื่องสำคัญ ดีใจจังที่ได้รู้

และเขาไม่เคยลืมจะเด็ดพริกแปะหน้าชามตอนจบ ด้วยประโยคเด็ดตอนสุดท้ายเป็นเอกลักษณ์’

:: สรณรัชฏ์ กาญจนะวณิชย์


อ่านบางตอนของบทความในเล่มได้ที่

openonline

No Comments on เหตุผลของการมีชีวิตอยู่

บางที บางเรื่อง

บางที ก็ทำพร้อมๆกันอยู่หลายเรื่อง

บางเรื่อง ก็ทำซ้ำๆกันอยู่หลายที

รู้ทั้งรู้ ว่าถ้าจะทำให้ได้ดี ก็ควรจะทำทีละเรื่อง

แต่ก็ไม่เคยทำให้ได้เรื่อง สักที

No Comments on บางที บางเรื่อง
Categories: short notes