l o m b o g
ลมบกพัดออกทะเล

สองเงาในเกาหลี August 15, 2010

สองเงาในเกาหลี

สองเงาในเกาหลี ; ทรงกลด บางยี่ขัน

บันทึกการเดินทางของสองชายหญิงที่ไม่รู้จักกัน แต่อยากเดินทางร่วมกันในเกาหลี

พิมพ์ครั้งที่4 / Abook / 352 หน้า / 180บาท

#############

ภาพยนตร์ที่ถูกสร้างขึ้นจากหนังสือขายดี น้อยครั้งนักที่จะได้รับคำชื่นชมเท่าเทียมหนังสือ (เว้นเสียแต่ว่าเป็นผู้ชมที่ยังไม่ได้อ่านหนังสือ)

นั่นก็เป็นเพราะในขณะไล่เรียงสายตาไปตามการร้อยเรียงของตัวอักษร ผู้อ่านก็ได้เสริมแต่งภาพของตัวละคร ฉากและบรรยากาศ แล้วทำการปะติดปะต่ อเป็นเรื่องราวในจินตการตามแบบฉบับของตัวเองไปพร้อมๆกันด้วย ผู้อ่านหนังสือจึงเสมือนได้ทำหน้าที่ผู้กำกับภาพยนตร์ในแบบที่ตัวเองต้องการไปแล้ว

นั่นเป็นเหตุผลที่ผมต้องอ่าน ‘สองเงาในเกาหลี’ ให้เสร็จสิ้น ก่อนที่ภาพยนตร์ ‘กวน มึน โฮ’ จะเข้าโรงฉายในสัปดาห์หน้า

ผู้สร้างภาพยนตร์เองก็คงทราบถึงข้อจำกัดนี้ จึงออกตัวล่วงหน้าว่า ‘กวน มึน โฮ’ ไม่ใช่ ‘สองเงาในเกาหลี’ แต่เป็นการได้รับแรงบันดาลใจมาเท่านั้น

ผมพบ ‘สองเงาในเกาหลี’ อยู่บนแผงหนังสือตั้งแต่การพิมพ์ครั้งแรกเมื่อหลายปีก่อน แต่เป็นการพบแล้วมองผ่านไปเพราะเข้าใจเอาเองว่าเป็นนิยายรักเกาหลีตามสมัยนิยม ซึ่งผมไม่ค่อยนิยมกับแนวนี้สักเท่าไหร่ จนกระทั่งได้รู้จักงานเขียนอื่นๆของ ‘ทรงกลด บางยี่ขัน’ สองเงาในเกาหลีจึงกลับมาอยู่ในสายตาผมอีกครั้ง ด้วยการหยิบมาพลิกดูบ้าง แต่ผมก็ผลัดผ่อนที่จะซื้อติดมือกลับมาอ่านอย่างเป็นเรื่องเป็นราวเรื่อยมา จนกระทั่งการพิมพ์ครั้งที่ 4

วันนี้ ผมอ่านจบแล้ว

‘สองเงาในเกาหลี’ เป็นบันทึกการเดินทางลุยเดี่ยวสู่ประเทศเกาหลีใต้เป็นเวลา 12 วันของผู้เขียน แต่โชคชะตากลับนำพาให้ต้องเดินทางเป็นคู่ เรื่องราวจึงขึ้นต้นคล้ายจะเป็นหนังสือบันทึกประสบการณ์ท่องเที่ยวต่างแดน แต่เมื่ออ่านจนจบกลับกระเดียดไปทางนิยายรักโรแมนติกเสียอย่างนั้น

เนื้อหาถูกแบ่งเป็นตอนสั้นๆ เล่าถึงบรรยากาศ-สถานที่ต่างวัฒนธรรม สอดแทรกด้วยทรรศนะของผู้เขียนต่อสิ่งที่ได้พบเห็น รวมไปถึงทรรศนะต่อผู้ร่วมเดินทาง ทั้งแบบที่ได้เปิดเผยออกไปและสิ่งที่เก็บงำอยู่ในใจ ลีลาลูกเล่นทางภาษาและวิธีการเล่าเรื่องของทรงกลด ที่ต้องยอมรับว่าเป็นหนึ่งในยุทธจักรน้ำหมึก ช่วยขัดเกลาให้ภาพรวมของเรื่องดูกลมกลืน และกลมกล่อม ต่อเนื่องไปตั้งแต่ต้นจนจบ

ยังไม่เคยมีหนังสือขนาดความหนาเกิน 300 หน้า ที่ผมสามารถอ่านต่อเนื่องรวดเดียวจบได้

บันทึกไว้ว่า ‘สองเงาในเกาหลี’ คือเล่มแรก

ลมบก /100811

หากไม่ถือสาว่าจะทำให้เสียอรรถรสในการอ่าน คลิ๊กไปชมตัวอย่างภาพยนตร์ ‘กวน มึน โฮ’ ได้ที่

‘กวน มึน โฮ’

1 Comment on สองเงาในเกาหลี

Slow Travel:เที่ยวเนิบช้า

Slow Travel : เที่ยวเนิบช้า

รื่นรมย์ระหว่างการเดินทางบนโลกที่หมุนช้าลง”

หากพบว่าเรากำลังใช้ชีวิตแบบรีบเร่งจนเกินไป ลองหยุดนิ่งสักพัก

แล้วปล่อยใจให้นำทางไปสัมผัสความรื่นรมย์ที่รายล้อมอยู่ให้เต็มที่

เช่นเดียวกับ 9 นักเขียน จาก 9 เรื่องราวที่ถ่ายทอดในหนังสือเล่มนี้

เป็นบันทึกการเดินทางแบบเนิบช้าในสถานที่เที่ยวทั้งไทยและต่างประเทศ

พวกเขาไม่เพียงแค่ชวนให้เรารู้จักการเดินทางในรูปแบบใหม่เท่านั้น

แต่การเดินทางบนโลกที่หมุนช้าลงคงทำให้คุณได้ค้นพบตัวเอง

เพื่อที่จะค้นพบผู้อื่น และเพื่อที่จะค้นพบโลกใบนี้ให้มากยิ่งขึ้นอีกด้วย

–แพรวสำนักพิมพ์ /มกราคม 2553 –

Powered by Cincopa WordPress plugin

No Comments on Slow Travel:เที่ยวเนิบช้า

คันไซ ไม่ต้องเกา

คันไซ ไม่ต้องเกา

การเดินทางในเขตคันไซของญี่ปุ่น

แม้จะเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญที่ใครต่อใครต่างเคยแวะชมกันทั้งนั้น

แต่ “ลมบก”สามารถแทรกมุมมอง ความรู้ทางด้านสถาปัตยกรรม

และแนวคิดดีๆ จากการเดินทางเพียงลำพังได้อย่างน่าสนใจ

เพราะนอกจากญี่ปุ่นในมุมมองของสถาปนิกหนุ่มไทยแล้ว

ยังมีอีกหลายมุมให้ผู้อ่านนักเดินทางได้มองกัน ตามแต่ใครจะคิดจินตนาการ

คันไซ..ไม่ต้องเกา จึงยังคงมีมุมที่น่าสนใจไม่แพ้มุมไหนๆที่ผ่านมา

–แพรวสำนักพิมพ์ /มิถุนายน 2552 –

Powered by Cincopa WordPress plugin

No Comments on คันไซ ไม่ต้องเกา

เจแปนสเปคตีบ

เจ แปน สเปค ตีบ

เสน่ห์ของงานสารคดีอย่างหนึ่งก็คือ มันทำให้เรามองเห็นโลกในมุมที่ต่างไปจากเดิมทั้งๆที่บางครั้งภาพที่อยู่ตรง หน้านั้นก็เป็นภาพเดียวกัน ทั้งหมดจึงอยู่ที่ผู้เขียนเป็นสำคัญว่าจะหยิบยกเอาเนื้อหาส่วนไหนของสิ่งที่ เห็นมาบอกเล่า และเล่าอย่างไรให้งานนั้นมีเสน่ห์ชวนติดตามตั้งแต่ต้นจนจบ
สารคดีท่องเที่ยวเรื่อง เจแปนสเปคตีบ คือสิ่งที่จะอธิบายประโยคที่ว่าได้ อย่างเป็นรูปธรรม ทั้งที่โดยเนื้อหาและการเล่าเรื่องก็อยู่ในงานเชิงสารคดีท่องเที่ยว
ซึ่งจากความเห็นส่วนหนึ่งของคณะกรรมการตัดสินรางวัลนายอินทร์อะวอร์ดบอกว่า นี่เป็นงานที่ใช้คำน้อย แต่ได้ความมาก นี่เองที่ทำให้สารคดีเรื่องนี้ได้รับการจัดพิมพ์จากแพรวสำนักพิมพ์ให้อยู่ใน ชุดท่องโลก
ญี่ปุ่นในมุมมองของ ลมบก ผู้เขียน ทำให้เรามองเห็นภาพของญี่ปุ่นเชิงสถาปัตยกรรม ที่สะท้อนถึงวิถีและขนบธรรมเนียมอันเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ที่ก่อรูปขึ้นมาเป็น แนวคิดในศาสตร์สาขานี้ ในขณะเดียวกันก็ทำให้เรามองเห็นถึงความหมายยิ่งใหญ่ในสิ่งเล็กได้ชัดขึ้น

เจแปนสเปคตีบ เล่มนี้จะทำให้ผู้อ่านเห็นญี่ปุ่นในมุมที่แตกต่างอย่างน่าสนใจ ชนิดที่อ่านจบก็อยากจะบินไปญี่ปุ่นเดี๋ยวนั้นเลย

แพรวสำนักพิมพ์

Powered by Cincopa WordPress plugin

No Comments on เจแปนสเปคตีบ

ผู้หญิงที่อยากกอดตลอดชีวิต August 8, 2010

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ผู้หญิงที่อยากกอดตลอดชีวิต :: ศุ บุญเลี้ยง

คำร้อง/ทำนอง::ประภาส ชลศรานนท์ ; เรียบเรียงดนตรี::จักรพัฒน์ เอี่ยมหนุน ; อัลบั้ม::เปลี่ยนฉาก

‘ผู้หญิงที่อยากกอดตลอดชีวิต’ เป็นคำของจุ้ยที่เขาคิดขึ้นมาตั้งนานแล้ว ได้ยินว่าเคยคิดจะทำหนังด้วย แต่ไม่ได้ทำเพราะเขาบอกว่าคิดไว้แต่ประโยค ยังไม่เคยคิดเนื้อเรื่อง วันหนึ่งมีโครงการจะทำละครเทิดพระคุณแม่ ตั้งใจเลยว่าจะพูดถึงแม่ในอีกแง่มุมหนึ่งแบบน่ารักๆ ก็เลยขอประโยคนี้มาจากจุ้ยมาตั้งชื่อเรื่อง จุ้ยก็ใจดียกให้แถมยังมาช่วยร้องเพลงเอกของละครให้อีกด้วย

ถึงจะเป็นเพลงสนุก ก็มีหลายคนบอกว่าฟังเพลงนี้แล้วน้ำตาคลอ ดนตรีมันมีอานุภาพอย่างนี้แหละ ความสนุกของท่วงทำนองมันทำให้ลูกๆทุกคนที่ฟังเพลง จะนึกถึงเรื่องราวในอดีตที่เราเคยมีความสุขกับแม่ แล้วก็นึกตามเนื้อเพลงไป

:: จากหนังสือ ‘เพลงเขียนคน ดนตรีเขียนโลก ฉบับเปลี่ยนฉาก’

########################

แค่ได้ฟังครั้งแรก จากการเป็นเพลงต้นเรื่องของละครโทรทัศน์เมื่อหลายปีก่อน เพลงนี้ก็กลายเป็นเพลงประจำวันแม่สำหรับผมไปในทันที เบียดเพลง’อิ่มอุ่น’ซึ่งยึดครองตำแหน่งมาเกือบสิบปี และตำแหน่งเดียวกันนี้ ก่อนหน้านั้นถูกผูกขาดโดยเพลง’ค่าน้ำนม’ ที่ได้ร้องบรรเลง เคล้าน้ำตากันปีละครั้งตั้งแต่เรียนชั้นอนุบาลจนจบมัธยม

มีใครไม่เคยโกหกแม่บ้าง ?

จากคำถามพื้นๆ ที่ถูกขัดเกลาขยายความจนกลายเป็นละคร 2 ตอนจบ ออกฉายทางโทรทัศน์ในปี พ.ศ.2547 โดยกลุ่มกระดาษพ่อ-ดินสอแม่ ที่มีแกนนำชื่อ ประภาส ชลศรานนท์  เนื้อหาละครว่าด้วยเรื่องการเดินทางจากบ้านนอกไปเยี่ยมลูกทั้งสามคนของ ‘ยายไหม’ เพื่อไปเลียบๆเคียงๆ ดูการเจริญเติบโตตามเส้นทางชีวิตของลูกแต่ละคน และไขว้กลับด้วยลูกทั้งสามเดินทางไปเซอร์ไพรส์แม่ที่บ้านนอกเนื่องในวาระวันแม่ แต่กลับต้องเป็นฝ่ายเจอเซอร์ไพรส์เข้าเสียเอง

เพลงนำเรื่อง แต่งขึ้นมาจากประโยคลอยๆ ของศุ บุญเลี้ยง ที่เป็นผู้ขับร้องเพลงนี้ และชื่อเพลงก็ถูกนำมาใช้เป็นชื่อละคร ท่วงทำนองเพลงสนุกเล่าถึงแม่ในเชิงทีเล่นทีจริง ใช้ถ้อยคำง่ายๆกับเรื่องราวใกล้ตัว ที่เห็นอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน เนื้อหา-อารมณ์ของละครก็เดินไปในท่วงทำนองเดียวกันเพลง

ชีวิตจริงก็เป็นอย่างเดียวกันนั้น เพราะเราไม่ได้ยกแม่วางไว้บนหิ้งตลอดเวลา

แต่ละเส้นทางของแต่ละชีวิตที่ต่างดำเนินไป ย่อมมีสุข มีเศร้า มีอารมณ์หลายหลาก มีปัจจัย มีบุคคล มีเรื่องราวมากมายประกอบกันขึ้นมาเป็นชีวิต ความสัมพันธ์ระหว่างแม่กับลูก ก็ใช่จะมีแต่ความซาบซึ้งบุญคุณน้ำตาไหลพรากกันร่ำไป การจะทำละครที่เล่าเรื่องของแม่ให้ดูสนุกก็ทำได้ อยู่ที่ผู้สร้างว่าจะหยิบแง่มุมใดขึ้นมาเล่า

‘ผู้หญิงที่อยากกอดตลอดชีวิต’ เลือกที่จะเล่าในประเด็นของความคาดหวังที่ต่างฝ่ายมีต่อกัน

“คนเรามักจะเป็นทุกข์ เพราะกลัวคนอื่นจะเสียใจในสิ่งที่เขาคาดหวัง กลัวว่าจะเป็นไม่ได้ ในสิ่งที่อยากให้เขาเห็น

แต่เชื่อสิ ว่ามีบางคนรับได้ในทุกสิ่งที่เราเป็น”

ลมบก/100809

ชมละครฉบับเต็มได้ที่ :: ผู้หญิงที่อยากกอดตลอดชีวิต

3 Comments on ผู้หญิงที่อยากกอดตลอดชีวิต

ทยอย ทยอย August 7, 2010

อยู่ในระหว่างทดสอบระบบ

และทยอยย้ายข้อมูลเก่าๆ มาลงในแต่ละ content

No Comments on ทยอย ทยอย
Categories: short notes